วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สัมมนาครั้งที่2

สรุปสัมมนาครั้งที่2

Jonathan Hoefler&Tobias Frere-Jones



อรรถพล เอียดสุข (เกม)


เทคโนโลยีการพิมพ์ก่อนยุคคอมพิวเตอร์






ศุภโชค สารติ๊บ (เจน)

Emigre

Emigre ก่อตั้งโดย Rudy Vandarlans กับ Zuzana licko โดยที่ Émigré ได้ผลิต Fonts ด้วย,ขาย Fonts ด้วย และ Emigre ก็ยังมีตีพิมพ์แมกกาซีนในช่วงระหว่างปี 1984 ถึง 2005 และ ในช่วงเวลา 1984-2005 นี้ Emigre ก็ได้ตีพิมพ์ออกมาทั้งหมด 69 เล่ม โดยที่เล่มที่ 1-63 ได้ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายเองโดย Emigre ส่วนในเล่มที่ 64-69 ได้ผลิตและจัดจำหน่ายร่วมกับ Priceton Architectural Press โดยที่แมกกาซีนที่ Emigre ก็ตีพิมพ์ออกมานั้นก็จะมีความแตกต่างกันไปแถบจะไม่เหมือนกันเลย โดยที่เนื้อหาของแต่ละเล่มนั้นก็จะมีเรื่องเกี่ยวกับ Fonts เป็นส่วนใหญ่เหมือนกับว่าทำให้คนได้รู้จัก Fonts นั้นๆ ทั้ง Fonts ของ Emigre หนังสือจะมีจุดเด่นในการจัด Composition ที่น่าสนใจ สี และก็ รูปถ่าย โดยปัจจุบัน Emigre แมกกาซีนได้ถูกจัดเก็บอยู่ใน San Francisco Museum of Modern Art,Musom of Modern Art ใน New York Cooper-Hewitt Nation Design Museum ใน New York เช่นกัน และก็ยังมีที่ Design Musevm ใน London และ Denver Art Museum มีทั้งหมด 5 พิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ตอนนี้ และเล่มล่าสุดที่ตีพิมพ์ในปี 2007 คือ Malaga by Emigre โดยเล่มล่าสุดนี้ก็ได้นำเสนอแบบตัวอักษรที่ชื่อ Malaga (2007) ออกแบบโดย Xavier Dupre นักออกแบบรุ่นใหม่ชาวฝรั่งเศส ความน่าสนใจในตัวนักออกแบบคนนี้คือ ความสนใจในความหลากหลายของวัฒนธรรมในแต่ละประเทศ เค้าเล่าว่าตัวอักษร Malaga นี้ก็ออกแบบในระหว่างการเดินทางไปทั่วประเทศต่างๆ ซึ่งเริ่มด้วย ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า แคมโปเดีย เวียดนาม ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และที่สุดท้ายคือ สเปน ซึ่ง Malaga ก็มาจากชื่อเมืองทางใต้ของสเปน โดยที่ Dapre ออกแบบโดยใช้ Power Book ในระหว่างการเดินทาง โดยที่ไม่มีเครื่องปริ้นและเมาส์ Malaga เป็นตัวอักษรแบบมี Serrif และโครงสร้างที่เป็น Hamanist ถ้าถามว่า Emigre มีความเกี่ยวข้องยังไงกับ Hevatica จากที่ผมแปลได้ เค้าบอกว่า Emigre ได้นำ Hevatica มาใช้ในงานออกแบบของ Emigre อย่างเช่นเล่มที่ 14 ก็ได้ใช้ Hevatica ในการออกแบบ Emigre นี้ถือได้ว่าเป็นที่รูจักกันในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้านกราฟฟิค

ทศพล กาจนากร (ทด)

Form Counter Form

รูปทรง (Form) หมายถึง โครงสร้างของสิ่งต่างๆ ประกอบด้วยด้าน 3 ด้าน คือ ด้านกว้าง ด้านยาว ด้านหนา เรียกว่า รูป 3 มิติ


รูปทรงสามารถวัดขนาดและปริมาตรได้ รูปทรงแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. รูปทรงธรรมชาติ (organic form)

2. รูปทรงเรขาคณิต (geometric form)

3. รูปทรงอิสระ (free form)


2. พื้นที่ของภาพและพื้นภาพ (Positive & Negative Space) งานออกแบบกราฟิกที่ดี ต้องมีความสัมพันธ์ของภาพและพื้นภาพที่ดี
พื้นภาพในงานเป็นเสมือนพระรองที่คอยส่งเสริมตัวภาพหรือพระเอกให้ดูโดดเด่นมากกว่า ซึ่งการส่งเสริมกันนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่าง
ของพื้นที่ว่างโดยรอบๆ ภาพ

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า งานกราฟิกจะสวยได้ นอกจากองค์ประกอบข้างในงานแล้ว รูปร่างขนาดพื้นที่ว่างรอบรูป ก็สามารถเป็นตัวบ่งชี้ความสวยงามลงตัวของงานได้




Form & Counter form

Letter form คือ รูปทรงของตัวอักษร
Counter form คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจากพื้นที่สีขาวที่อยู่ด้านในของตัวอักษร



ณัฎฐ์กานดา จิรโสภณสวัสดิ์ (พลอย)