วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สัมมนาครั้งที่ 1

สรุปการสัมมนา


ตัวอักษรในสภาพแวดล้อมและชีวิตประจำวัน
ตัวอักษรก็เป็นสื่ออีกขั้นหนึ่งของเรา ทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะออกไปทำอะไรที่ไหนก็มักจะมีตัวอักษรเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ตัวอักษรที่รายล้อมรอบตัวเรานั้นมีมากมาย จะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นป้ายบอกทาง ป้ายเตือน ป้ายโฆษณา โปสเตอร์หนัง และอื่นๆอีกมากมาย นับว่ามีความสำคัญต่อชีวิตประจำของเราเป็นอย่างมาก เพราะตัวอักษรทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น ตัวอักษรจึงมีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน

อาทิตย์ ศิริปารภ


International typographic style
International style ก็คืองานออกแบบในรูปแบบของ Swiss style ซึ่งถูกพัฒนามาจากประเทศ Swisszerland มีความโดดเด่นมากในช่วงยุค 70s การออกแบบกราฟฟิกดีไซด์แบบ Swiss style นี้มีความเหมือนเกียวเนื่องกับรูปแบบพื้นฐาน Typography เป็นอย่างมาก จุดเด่นในการออกแบบคือ
- การออกแบบจะเน้นย้ำเรื่องความสะอาดตา
- การใช้ grid เพื่อความเรียบร้อย
- ตัวอักษรแบบ san-serif type face โดยเฉพาะ Helvetica ที่เป็นที่รู้จักกันดีในช่วงปี 1961
- อาจใช้ภาพถ่ายขาวดำแทนการวาดรูป หรือการวาดรูปเขียน
และการออกแบบในปัจจุบันนี้ยังได้รับอิธิพลขิงการออกแบบนี้อยู๋ด้วยเช่นกัน

รดา สุทธิวงษ์วัฒนา

Norm
Manuel Krebs and Dimitri Buni
เป็นนักออกแบบชาวสวิสรุ่นใหม่ ทั้งสองเกิดในปี 1970 ในเมืองเบลล์และเบิล์น ตามลำดับ และเขาพบกัยตอนที่เป็นนักเรียนในโรงเรียนการออกแบบกราฟฟิก ใน เบลล์ ในช่วงปี 1990-1999ละทั้งสองก็ร่วมกันก่อตัว Norm studio ขึ้น งานของโนมจะเป็นลักษณะเฉพาะที่เน้นทักษะขั้นสูงในการออกแบบตัวอักษร และการพอมพ์ที่เน้นกับเทคนิคต่างๆ การทำงานของเขาอาจเป็นระบบที่เข้าใจยาก ไม่เป็นที่ยอมรับแต่ผลงานของเขาก็ได้รับความนิยม

ทนงศักดิ์ แป้นเขียว

Push pin studio
ก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 1954 โดย Seymour Chwast , Edward Sorel , Milton Glaser’Reynold Ruffins ตอนนั้นพวกเขาเรียกกลุ่มของตัวเองว่า Design Plus พวกเขาหารายได้เพื่อนที่จะให้สตูดีโอนั้นคงอยู่ต่อไป จึงร่วมกันทำปฏิทินชุดหนึ่งที่เรียนกว่า Almanack หลังจากงานของเขาได้ถูกพูดถึงในวงการออกแบบหลังจากนั้นจึงร่วมกันเปิด Push pin studio
ในปี 1957 ทุกคนตัดสินใจเริ่มสิ่งพิมพ์แบบใหม่ ที่จะสะท้อนมุมมองของ Push pin studio ได้ชัดเจนมากขึ้น เรียกสิ่งพิมพ์นี้ว่า Monthly Graphicงานของพวกเขาได้รั บความสนใจเป็นอย่างมาก จนเมื่อปี 1961 ปฏิทินฉบับที่35ของ Monthly Graphic ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Push pin Graphic และในที่สุกในฉบับที่ 86 ปี 1980 ในหัวเรื่อง Crime ก็ถือเป็นโอกาสที่ Push pin ต้องยากย้ายไปทำงานของแต่ละคนที่สนใจ
Push pin studio ในช่วงแรกศิลปินจะคำนึงถึงเรื่อวัฒธรรม ไม่กล้าทำอะไรแตกต่างนัก แต่มีการพัฒนาในแต่ละยุคสมัย หลังจากนั้นงานของ Push pin ก็เปลั้ยนไปแทบไม่เหมือนเดิม พัฒนาในแบบ modernism แต่ไม่ได้เน้นไปแนวใดแนวหนึ่งเพื่อนำไปใช้งานได้หลายประเภท ภายหลัง Seymour Chwast ได้เปลื่อนชื่อจาก Push pin studio เป็น Push pin Group,Inc.

กลอยใจ ชัยชัชวาล



Wim Crouwel
เกิดปี 1928 ใน Groningen ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็น นักออกแบบกราฟิกและtypographerชาวเนเธอร์แลนด์ เขาเป็นที่รู้จักโดยโปสเตอร์และนิทรรศการ สำหรับพิพิธภัณฑ์Stedelijk ใน เมืองอัมสเตอดัม
เขาออกแบบตัวอักษร2-3 ชุด New Alphabet (1967) เป็นชุดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก มันเป็นแบบอักษรที่เป็นนามธรรมมาก ในระบบ dot-matrix เขาทำให้มันอ่านง่ายขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์
Fonts ที่เขาออกแบบ
- New Alphabet 1,2 and 3
- Stedelijk Alphabet
- Fodor Alphabet
เขายังเป็นหนึ่งในนักออกแบบที่สำคัญใน Dutch graphic historyในปี 1985-1993 เขาเป็นผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์ Boijmans Van Beuningen ใน Rotterdam เขาไม่ได้หยุดอยู่แค่helvetica
แต่เอาระบบgridมาสร้างงานอย่างเป็นระบบ เป็นต้นแบบดีไซเนอร์สายgridรุ่นหลังๆ
อย่างnorth,mark farrow,experimental jetset

Postmodernism
Postmodernism เกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี ๑๙๘๐ Postmodernism มีคำจำกัดความที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะมันเป็นแนวคิดหนึ่งที่ปรากฏในความหลากหลายของกฏเกณฑ์หรือแขนงวิชาการต่างๆรวมถึงศิลปะ สถาปัตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร์ วรรณคดี สังคมวิทยา สื่อสารมวลชน แฟชั่น และเท็คโนโลยี และยากที่จะระบุช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ของมัน เพราะไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อใดPostmodernism มีความคล้ายคลึงกันกับ modernism ตามความคิดที่เหมือนกันเหล่านี้คือ ปฏิเสธเส้นแบ่งระหว่างความสูง-ต่ำในรูปแบบของศิลปะ ปฏิเสธความแตกต่างในความเป็นศิลปวัตถุที่เคร่งครัด เน้นการหลอมรวมกับสิ่งที่คุ้นเคย กำมะลอ การแดกดัน และความขบขัน ในแง่ศิลปะของ Postmodern มักไหลย้อนกลับและมีสำนึกของตนเอง แม้ในความเป็น postmodernism ดูเหมือนจะคล้ายกับ modernism ในหลายเรื่อง ความแตกต่างกันอยู่ที่ทัศนะคติในเรื่องนั้นๆ ดังเช่นModernism โน้มเอียงไปที่ความเปราะบางในแง่ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์และประวัติศาสตร์ งานของนักทันสมัยพยายามหยิบยกความคิดของงานศิลปะที่สนองความเป็นเอกภาพ ยึดเหนี่ยว และให้ความหมายในสิ่งที่สูญหายไปในชีวิตสมัยใหม่ ศิลปะจะสนองตอบในสิ่งที่สูญหายในสถาบันของความเป็นมนุษย์ Postmodernism ในทางกลับกัน ไม่เน้นไปในทางยึดติด เข้าใจได้ง่าย โดยใช้สภาพแวดล้อม องค์ประกอบในอดีต มาประยุกต์ใช้กับงานสมัยใหม่
ชานนท์ วรรณพักตร์


AIGA
AIGA ย่อมาจาก American Insitulre or graphic art เป็นสถาบันการออกแบบจากอเมริกาที่รได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งสถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันที่วิเศษที่สุด AIGA จัดตั้งในปี 1914 เป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุด และมีจำนวนสมาชิกมากที่สุด ที่นี่เป็นแหล่งรวมของเหล่าดีไซด์เนอร์เริ่มต้นแลกเปลี่ยนความคิดข้อมูล มีส่วนร่วมในการวิจารณ์รวมไปถึงการค้นคว้าและการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น สถาบันนี้จะสนับสนุนและนำเสนองานออกแบบอย่างมีมาตรฐาน และเก็บรวบรวมผลงานเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ช่วยกระตุ้นสร้างสรรค์แรงบัลดาลใจอีกด้วย
www.aiga.org
ปิติพงศ์ เมตตาประเสริฐ

1 ความคิดเห็น:

l2rebellion กล่าวว่า...

http://l2rebellion.blogspot.com/

เชิญชม