วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สัมมนาครั้งที่4

Modernism
ในสมัยศตวรรษที่ 19 กระบวนการ Enlightenment ก่อให้เกิดยุคสมัยใหม่ เป็นยุคแห่งเหตุผล(The Age of Reason) ขึ้นมาแทนที่ศาสนาซึ่งตรึงอยู่กับศรัทธา(Faith) ยุคที่เชื่อในความก้าวหน้า(Progression) ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นฐานให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม และแผ่ขยายไปถึงด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม รวมไปถึงสุนทรียศาสตร์

ด้านเศรษฐกิจ
- มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม
- ยึดถือเศรษฐกิจแบบทุนนิยม(Capitalism)
- แนวคิดกำไรขาดทุนเป็นหลัก
- เกิดชนชั้นกลางในภาคบริการ เกิดชนชั้นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
- แนวเศรษฐกิจทุนนิยมได้กระจายตัวไปทั่วโลก ผ่านยุคอาณานิคม, ยุคพัฒนา, และยุคโลกาภิวัตน์ตามลำดับ

ด้านการเมือง
- มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ระหว่าง ศาสนาจักร กับ อาณาจักร
- เกิดคำที่มีความหมายแบบ เสรีภาพ อิสรภาพ ปัจเจกภาพ
- เกิดการต่อต้านการควบคุมและต้องการหลุดพ้นจากการควบคุมจากโครงสร้างความคิดเก่าทางศาสนา
- เกิดขบวนการประชาธิปไตย (เสรีภาพ, อิสรภาพ, และประชาชน)
- เกิดการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ และสังคมนิยม (ต่อมาได้ล่มสลายลงในปลายคริสตศตวรรษที่ 20)

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
- ปลายคริสตศตวรรษที่ 18 มีการก่อตั้งสถาบันและกรมศิลปกรขึ้นมา ทำให้เป็นอิสระจากศาสนาและราชสำนัก
- ทั่วโลกถูกครอบงำโดยวัฒนธรรมตะวันตกโดยผ่านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่ต้องการให้มีวัฒนธรรมที่เป็นแบบเดียวกันในการแพร่กระจายผลผลิต
- คนผิวขาว(White Man) เป็นใหญ่ ค่อนข้างมีอิทธิพลครอบงำ และอ้างความมีวัฒนธรรมที่สูงกว่าชนชาติอื่นๆ
- ผู้ชายเป็นใหญ่ ขาดความเสมอภาคระหว่างหญิง/ชาย

ด้านสุนทรียศาสตร์
- มีการเรียกร้องความสดและความใหม่, สไตล์ไม่เหมือนใคร โดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของเป้า หมาย(Objective)
- เรียกร้องให้สุนทรียภาพมีความเป็นอิสระจากเรื่องศีลธรรม
- ให้คุณค่าอย่างสูงมากต่อสิ่งใหม่ๆ
- ปฏิเสธความงามที่ปราศจากประโยชน์ใช้สอย ซึ่งเนื่องมาจากยุคพัฒนาทางด้านเครื่องจักร
- ทางด้านสถาปัตยกรรมเกิดแนวคิดแบบ Form Follow Function
- ปฏิเสธลวดลายและสิ่งประดับหันมาชื่นชอบกับรูปทรงเรขาคณิต(แบบเครื่องจักร) และความเรียบง่าย
- ปฏิเสธสไตล์ท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมประจำชาติ ให้การเชิดชูความเป็นสากล(International Styles) ซึ่งก่อให้เกิดแนวทางการออกแบบสมัยใหม่ขึ้น

ในวงการศิลปะและการออกแบบ Modern Art เกิดขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1860 ถึง1970 ซึ่งศิลปินสมัยนั้นได้ทดลองวิธีการใหม่ ในการมองภาพและสร้างสรรค์งาน ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนแนวความคิดใหม่เกี่ยวกับธรรมชาติของวัตถุและองค์ประกอบของของศิลปะ ความคิดแบบนามธรรมเข้ามามีบทบาทและแสดงถึงลักษณะพิเศษของศิลปะแนวใหม่ เกิดรูปแบบศิลปะร่วมสมัย เพราะความคิดของงานศิลปะสมัยใหม่นั้น มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความทันสมัยและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป

ช่วงปลายปีศตวรรษที่ 19 การเคลื่อนไหวที่เพิ่มขึ้นได้มีอิทธิพลในงานศิลปะสมัยใหม่และเริ่มปรากฏ post-Impressionism และ Symbolism รวมถึงการเปิดเผยสื่อศิลปะทางด้านตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคการพิมพ์ของญี่ปุ่น นวัตกรรมทางด้านสีของ Turner และ Delacroix การค้นหาลักษณะการวาดรูปในชีวิตของคนธรรมดา เหมือนกับสร้างงานของจิตกร เช่น Jean- François Millet ผู้ให้การสนับสนุนแนวทาง Realism

แม้ว่างานปติมากรรมและงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จะปรากฏในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แต่การเริ่มต้นของภาพวาดสมัยใหม่ปรากฎออกมาได้เร็วกว่า การกำเนิดของศิลปะแนวใหม่นั้นเริ่มเกิดขึ้นในปี 1863 ซึ่ง Édouard Manet ได้จัดแสดงภาพวาด Le déjeuner sur l'herbe ใน Salon des Refusés ในกรุงปารีส ทำให้เกิดแนวทางที่บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่คือ Romantics, Realists และ Impressionists

ท่ามกลางการเคลื่อนไหวซึ่งเกิดขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 คือแนวทาง Fauvism, Cubism, Expressionism และ Futurism สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้นำจุดจบมาสู่ช่วงนั้น และเกิดเริ่มต้นการเคลื่อนไหวต่อต้านศิลปะ อาทิเช่นแนวความคิด Dadaism และงานของ Marcel Duchamp ศิลปะและวรรณคดีที่เน้นหนักในเรื่องของจิตใต้สำนึก

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียงไม่กี่ปี ภาวะเศรษฐกิจได้เติบโตอย่างรวดเร็ว เมืองใหญ่ ๆ ในยุโรปและอเมริกาเริ่มฟื้นตัว ผังเมืองมีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่และห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้น รวมถึงรถยนตร์และถนนหนทางต่างๆ ศิลปินและปัญญาชนต่างก็รวมกันเพื่อก่อตั้งเป็นกลุ่มศิลปินที่มีแนวคิดก้าวหน้า (Avant-garde groups) และในช่วงนี้เองที่ลัทธิ Modernism ได้เติบโตขึ้นอย่างเต็มที่ ในวงการจิตรกรรม จิตรกรเช่น Wassily Kandinsky Piet Mondrien หรือ Casimir Malevich ได้อธิบายถึงหลักการของศิลปนามธรรม (Abstract Art) ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน แนวคิดในเรื่องพื้นที่ว่างและรูปแบบนามธรรมได้ถูกนำไปใช้ในวงการสถาปัตยกรรมและประยุกต์ศิลปแขนงต่างๆ

กลุ่มนักออกแบบ De Stijl (The Style) ซึ่งรุ่งเรืองในช่วงปี 1917 สมาชิกของกลุ่มเช่น Theo van Doesburg และสถาปนิก Gerrit Rietveld ได้นำแนวคิดที่เคร่งครัดของลัทธิเหตุผลนิยม (Rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดทางศิลปที่มีความซับซ้อนมาก พื้นที่ว่างและพื้นผิวที่ได้ตัดทอนรูปทรง ที่แสดงให้เห็นในผลงานของนักออกแบบกลุ่ม De Stijl ซึ่งเน้นองค์ประกอบของรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และนิยมใช้สีสันโดยเฉพาะแม่สีในขั้นที่1 เช่นสีเหลือง สีแดงและสีน้ำเงิน Gerrit Rietveld ได้นำความคิดของเขาออกแบบเก้าอี้ Roodblauwe Stoel (ผลงานในช่วงปี 1918-1924) รวมถึงงานสถาปัตยกรรมของเขาเช่นบ้าน Schroder House ที่สร้างในปี 1924

หนึ่งในศูนย์กลางทางศิลปะที่สำคัญของศิลปินหัวก้าวหน้าในศตวรรษที่ 20 คือกลุ่ม Bauhaus ซึ่งก่อตั้งโดย Walter Gropius ที่เมือง Weimar ในปี 1919 แม้ว่าในตอน เริ่มแรกนั้น จะได้อิทธิพลจากทฤษฎีของกลุ่ม De Stijl แต่ได้ปรับให้เข้ากับการใช้งานจริงและสภาพแท้จริงทางสังคม บรรดาสถาปนิก ช่างฝีมือ จิตรกร ประติมากร และอาจารย์พิเศษจำนวนมากต่างทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดภายในสถาบัน Bauhaus โดยพัฒนาแนวคิดซึ่งก่อให้เกิดโฉมหน้าของ Modernism ในศิลปประยุกต์ทุกแขนง พวกเขาพยายามค้นคว้าหานิยามบทสรุปที่ว่า การมุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยที่นำไปสู่ของการออกแบบ (Functionalist approach to design) ที่จำเป็นต่อมนุษย์ในยุคของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งคำว่ายุคของเครื่องจักร(Machine Age) ได้เกิดขึ้นในยุคนี้เอง

ก้าวที่สำคัญของ Bauhaus คือผลงานเก้าอี้ของ Marcel Breuer ในปี 1925 ที่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์สำหรับบ้านพักอาศัยตัวแรกๆ ที่ทำด้วยเหล็กท่อกลม (Tubular steel) และ Ludwig Mies van der Rohe ได้ออกแบบเก้าอี้ตัวแรกที่อาศัยหลักการคานยื่น (Cantilever Chair)

นับตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์เหล็กท่อกลมมีความเหมาะสมต่อการผลิตเฟอร์นิเจอร์อุตสาหกรรมเป็นต้นมา ด้วยผิวสัมผัสที่เย็น รูปลักษณ์ที่ดูสะอาดและแข็งแรง และรูปแบบใหม่ของการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสมกับยุคสมัย วัสดุชนิดนี้จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วโดยนักออกแบบและสถาปนิก

ในประเทศฝรั่งเศส สถาปนิกนักออกแบบ Le Corbusier หรือ Rene Herbst และ Eileen Gray เป็นนักออกแบบที่สำคัญและมีอิทธิพลอย่างสูงในกลุ่ม Modernism เฟอร์นิเจอร์เหล็กท่อกลมที่มีชื่อเสียงของพวกเขาซึ่งยังคงบุด้วยหนังแม้ในปัจจุบัน และในผลงานของ Pierre Chareau เราจะเห็นการเชื่อมโยงของศิลป Art Deco ซึ่งมีอิทธิพลอยู่ในฝรั่งเศสช่วงนั้น

ประเทศรัสเซียถือเป็นประเทศแรกที่มีการปกครองภายใต้ระบอบสังคมนิยม นับตั้งแต่การปฏิวัติในเดือนตุลาคมปี 1918 และได้กลายเป็นศูนย์กลางของศิลปหัวก้าวหน้า (Avant-Garde Art) กลุ่มศิลปินในกรุงมอสโคว์ต่างแสวงหารูปแบบที่เป็นนามธรรมและนำไปสู่ทิศทางของการออกแบบ ซึ่งถือเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันในชื่อลัทธิ Constructivism และ Suprematism

Modern Art ได้เปิดตัวในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในงานแสดงคลังสรรพาวุธ ในปี 1913 และผ่านทางศิลปินยุโรป ที่ได้ย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกาตอนสงครามโลกครั้งที่1
แม้ว่าอเมริกาจะกลายเป็นจุดรวมของการเคลื่อนไหวทางศิลปะกลุ่มใหม่ แต่ก็แค่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น ในช่วงปี 1950 และปี 1960 ได้เห็น การเกิดขึ้นของ of Abstract Expressionism, Color field painting, Pop art, Op art, Hard-edge painting, Minimal art, Lyrical Abstraction, Postminimalism และความหลากหลายทางการเคลื่อนไหวอื่นๆ ในปลายปีช่วง 1960 และปีช่วง 1970 Land art, Performance art, Conceptual art, และรูปแบบศิลปะใหม่ๆอื่นๆ ได้ดึงดูดความสนใจของหัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์และนักวิจารณ์ทำให้เวลานั้น จำนวนของศิลปินและสถาปนิกเริ่มปฏิเสธความแนวความคิดแบบ Modernism ช่วงเวลานี้เองที่เป็นจุดสิ้นสุดของแนวความคิดแบบ Modernism และนำไปสู่แนวความคิดแบบ Postmodernism ในเวลาต่อมา

ปอม


โรงเรียนสอนออกแบบเบาเฮาส์
สถาบันศิลปะเบาเฮาส์หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า The Bauhaus School of Art, craft, and design ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยสถาปนิกที่ชื่อว่า Walter Gropius ที่เมืองไวมาร์ ประเทศเยอรมันนี ในปี ค.ศ. 1919 สำหรับคำว่า เบาเฮาส์ (building house)นั้น เป็นการสะท้อนถึงต้นตอกำเนิดในความคิดแบบสังคมนิยมที่เกี่ยวพันกับขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านงานศิลปะและงานฝีมือ ซึ่งไม่ใช่อย่างเดียวกันกับความพยายามในช่วงต้นๆในการรื้อฟื้นพลังเกี่ยวกับผลิตผลทางงานฝีมือขึ้นมาใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด โปรแกรมต่างๆของเบาเฮาส์ได้เข้าไปอยู่ภายใต้วงแขนของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
ปี 1919 นั้น นับเป็นปีที่สำคัญปีหนึ่งของชาวเยอรมัน เพราะเป็นปีแรกหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 [สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1914-1918] ในปีดังกล่าว บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนต่างวุ่นวายอยู่กับการจัดให้มีการประชุม เพื่อถกเถียงว่าจะมีประชาธิปไตยแบบใดกันดีในเยอรมัน ในขณะเดียวกันนั้น สถาบันศิลปะเบาเฮาส์ ได้ก่อตั้งขึ้นที่เมือง Weimar เป็นครั้งแรก
คำว่าBauhaus หากแปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ building house หรือ Construction Building และผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นมาก็คือ Walter Gropius (สถาปนิก)ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งคนสำคัญและเป็นผู้อำนวยการสถาบันศิลปะ เบาเฮาส์ เป็นคนแรก เปิดดำเนินการขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 1919 ณ เมือง Weimar ประเทศเยอรมัน อันเป็นเมืองเล็กๆซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ราว 4 หมื่นคน แต่กลับเป็นจุดโฟกัสทางวัฒนธรรมที่สำคัญเพราะว่าเป็นที่ซึ่ง Gorthe และ Schiller สองนักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่อาศัยอยู่

บุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมกับสถาบันศิลปะเบาเฮาส์
นับจากปี 1919 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สถาบันศิลปะเบาเฮาส์ ได้รับการก่อตัวขึ้นมาจนกระทั่งสถาบันแห่งนี้สิ้นสุดลงในปี 1933 นั้น มีผู้อำนวยการสถาบันแห่งนี้ที่นับว่าเป็นคนสำคัญที่ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา 3 คน ได้แก่ Walter Gropius(เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 1919), Ludwig Mies van der Rohe(เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 1928) และ Hannes Meyer (เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 1930) ในส่วนของ Walter Gropius ซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันแห่งนี้ เขาเป็นสถาปนิกที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงมาแล้วตั้งแต่อายุเพียง 36 ปี ความหวังของเขาเกี่ยวกับการก่อตั้งสถาบันสอนศิลปะแห่งนี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะปฏิวัติโรงเรียนศิลปะให้เป็นแบบสหศึกษา คือมีการสอนทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบตกแต่ง ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบโฆษณา งานเซอรามิค งานถักทอเส้นใย รวมไปถึงจิตรกรรม ประติมากรรม และการละคร ฯลฯ เขาหวังจะหวนกลับไปสู่อุดมคติต่างๆของผู้สร้างโบสถ์ในสมัยกลาง(the ideals of the builder of cathedrals in the Middle ages) เพื่อสถาปนาชุมชนคนทำงานศิลปะขึ้นมา แต่เป็นเป็นที่น่าจับตาว่า งานศิลปะในแขนงต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ล้วนถูกห่อรวมอยู่ในโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมทั้งสิ้น นอกจากผู้อำนวยการทั้ง 3 คนแล้ว ยังมีผู้ร่วมสอนคนสำคัญของสถาบัน เบาเฮาส์ แห่งนี้อีกหลายคน ซึ่งล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีผลงานซึ่งได้รับการสืบทอดนำเอาตำรับตำราของคนเหล่านี้มาใช้สอนนักศึกษาศิลปะไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย อย่างเช่น Johannes Itten (ชาวสวิสส์) และ Josef Albers (จิตรกรอเมริกัน เกิดในเยอรมัน) ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องของทฤษฎีสี การค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องสี จนกระทั่งเขียนขึ้นมาเป็นตำราของเขาได้รับการนำมาแปลถ่ายทอดในหลายภาษา และนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมและงานออกแบบทั่วไป รวมไปถึงงานออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ ส่วนจิตรกรคนสำคัญ ซึ่งได้ร่วมสอนอยู่กับสถาบันศิลปะ เบาเฮาส์ และเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการศิลปะจนกระทั่งทุกวันนี้ ซึ่งปัจจุบันนักศึกษาศิลปะยังคงต้องศึกษาผลงานของพวกเขาอยู่ อย่างเช่น Paul Klee(จิตรกรชาวสวิสส์), Wassily Kandinsky(จิตรกรชาวรัสเซีย), Lyonel Feininger(จิตรกรชาวอเมริกัน), และ Loszlo Moholy Nagy (จิตรกรชาวฮังกาเรียน) เป็นต้น ที่น่าสังเกตุก็คือ จิตรกรเหล่านี้ภายใต้ร่มธงของสถาบันสอนศิลปะเบาเฮาว์ ล้วนทำงานออกมาในรูปโครงสร้างมีลักษณะเรขาคณิต ที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกับงานโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ซึ่งอยู่ภายใต้การอำนวยการของสถาปนิกทั้ง 3 คน แต่ภายหลังจิตรกรเหล่านี้ด้แยกตัวออกจากสถาบันเบาเฮาส์แล้ว พวกเขาแต่ละคนกลับมีสไตล์ผลงานจิตรกรรมที่เป็นของตัวเองอย่างเด่นชัด และเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก อย่างเช่น ผลงานจิตรกรรมของ Paul Klee และ Kandinsky โดยเฉพาะจิตรกรคนหลัง ผลงานของเขาเป็นที่น่าประทับใจและเป็นส่วนหนึ่งของที่มาในสไตล์ผลงานจิตรกรรมแบบ Abstract Expressionism



1.Walter Gropius 2.Hannes Meye 3.Ludwig Mies van der Rohe
ส่วนผสมของสถาบันศิลปะเบาเฮาส์
ก่อนการก่อตั้งสถาบันศิลปะเบาเฮาส์มีโรงเรียนที่สอนทางด้านศิลปะอยู่แล้ว ซึ่งบางโรงเรียนก็เน้นไปในเรื่องของพาณิชยศิลป์ ส่วนบางโรงเรียนก็เน้นไปในด้านงานวิจิตรศิลป์โดยตรง สำหรับสถาบันศิลปะเบาเฮาส์นั้น เป็นการรวมกันระหว่าง The School of Art and Trade กับ The School of Plastic Arts ซึ่งโรงเรียนแรกเน้นเรื่องศิลปะไปรับใช้เรื่องทางการค้า ส่วนโรงเรียนหลังมีการเรียนการสอนทางด้านศิลปะตามขนบประเพณี เป็นสถาบันวิชาการทางศิลปะ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับอาจารย์ผู้สอนศิลปะโรงเรียนหลังนี้กล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับโปรแกรมของเบาเฮาท์ได้
การเรียนการสอนของเบาเฮาส์
ปรัชญาของการเรียนการสอนของเบาเฮาส์เป็นการผสมผสานระหว่างความเป็นศิลปินหรือผู้ที่มีความสามารถเกี่ยวกับเรื่องราวของรูปทรง(master of form)ให้กลับมาสนใจในงานฝีมือ ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้คนที่มีความสามารถในงานฝีมือ(shop master)ใช้ความคิดสร้างสรรค์เช่นเดียวกับศิลปิน ฝึกฝนให้ตนเองให้เกิดความสามารถในการคิดถึงรูปทรงที่ปรากฎออกมาให้สะดุดตา
ในส่วนของข้อแตกต่างอีกข้อหนึ่งระหว่างโรงเรียนสอนศิลปะโดยทั่วไป กับสถาบันศิลปะเบาเฮาส์ที่เด่นชัดคือ สถาบันศิลปะแห่งนี้เน้นในเรื่องการสนทนาระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษา การพูดคุยกันถือเป็นหัวใจสำคัญแรกสุด ทั้งนี้เพื่อจะได้ให้ครูบาอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายสาขาและมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ได้ถ่ายทอดความรู้ของตนให้กับนักศึกษา และเพื่อให้นักศึกษาแต่ละคนได้นำเอาความรู้ของผู้สอนแต่ละท่านไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ของตนเอง
นอกจากนี้ การเรียนของสถาบันศิลปะเบาเฮาส์ยังเน้นในเรื่องการลงมือปฏิบัติด้วย Gropius เชื่อว่า การทำงานด้วยมือถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้นักศึกษามีคุณภาพภายในและรับรู้ถึงการใช้วัสดุอย่างแท้จริง ดังนั้น นักศึกษาศิลปะจึงไม่เพียงเป็นแค่ผู้รู้ในทางทฤษฎีเท่านั้น แต่ยังเป็นนักปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพด้วย โดยเหตุนี้ นักศึกษาของสถาบันศิลปะเบาเฮาส์จึงต้องเข้าโรงฝึกงานหรือสตูดิโอต่างๆ เช่น สตูดิโอที่เกี่ยวกับไม้, โลหะ, กระจก, สิ่งทอ, และงานเครื่องปั้นดินเผา

บั้นปลายของเบาเฮาส
แม้ว่าสถาบันศิลปะเบาเฮาส์จะมีปรัชญาการสอนที่ล้ำหน้ามากในช่วงนั้น นับจากแนวคิดของผู้ก่อตั้ง ผู้ร่วมงาน และการให้อิสระแก่นักศึกษา แต่สถาบันแห่งนี้ภายหลัง กลับต้องยุติบทบาทลงในประเทศเยอรมันนี ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุการณ์ทางการเมืองภายในในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความคิดเก่ากับความคิดใหม่ รัฐบาลและประชาชนทั่วไปยังมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม แต่เบาเฮาส์มีแนวโน้มไปทางสังคมนิยม เมื่อความขัดแย้งสั่งสมเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการบีบบังคับให้ Gropius ลาออกและปิดสถาบันศิลปะเบาเฮาส์ที่เมืองไวมาร์ลงในปี 1924
แต่ข่าวการปิดสถาบันแห่งนี้ กลับได้รับการตอบรับในลักษณะที่ยินดีจากเมืองสำคัญๆในเยอรมัน เช่น ฟรังค์ฟูร์ต, ฮาเกน, ดามสตัดต์ และเดลซา ซึ่งต่างสนใจที่จะนำสถาบันเบาเฮาส์มาสร้างในเมืองของตน นายกเทศมนตรีของเมืองเดลซาประสบความสำเร็จในเจตจำนงนี้ และได้เปิดสถาบันศิลปะเบาเฮาส์ขึ้น จนกระทั่งปี 1928 Gropius ได้ขอลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ และต้องแต่งตั้งคนอื่นดูแลแทน
ในช่วงทศวรรษที่ 1930s พรรคนาซีเยอรมันประสบชัยชนะทางการเมืองได้เป็นผู้ปกครองแอนฮอล์ท เบาเฮาส์ต้องย้ายไปอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน และได้ถูกปิดลงอย่างเด็ดขาดในเดือนเมษายน ปี 1933 (อันเป็นเดือนเดียวกันกับการก่อตั้งขึ้นมา) ซึ่งเป็นกาลอวสานของสถาบันแห่งนี้ในเยอรมัน สำหรับอาคารเรียนที่เมืองเดลซาได้ถูกพรรคนาซียึดไปเป็นที่อบรมทางการเมืองระดับหัวหน้าพรรค
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเบาเฮาส์จะถูกปิดตัวลงในเยอรมันนี แต่บทเรียนและวิธีการสอนกลับขยายออกไปมีอิทธิพลต่อโรงเรียนสอนศิลปะทั่วโลก สถาบันสอนศิลปะหลายแห่งในยุโรปและอเมริกาได้รับเอาไปปรับปรุงใช้กับสถาบันของตนเอง. Moholy Nagy ได้ไปก่อตั้ง The New เบาเฮาส์ (ซึ่งปัจจุบันคือ The Institute of Design of the Illinois Institute of Technology) ในชิคาโก นอกจากนี้ ทฤษฎีของเบาเฮาส์ยังได้ถูกนำไปใช้ในสถาบันที่มีชื่อเสียงอีกหลายแห่ง เช่นที่ ฮาร์วาร์ดในบอสตัน นิวยอร์ค และพยานหลักฐานเหล่านี้ ทำให้เบาเฮาส์ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกสถาบันสอนศิลปะสมัยใหม่เเห้งศตวรรษ

เบียร์


Swiss Style

Swiss Style เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บนรากฐานอิทธิพลของ
Bauhaus - Constructivism และ De Stijl ซึ่งเป็นช่วงที่การใช้ grid
ในการสร้างสรรค์งานยังคง ได้รับการขานรับอย่างต่อเนื่อง และถูกผสมผสานเข้ากับการใช้
เทคนิคใหม่ๆในการตกแต่งแก้ไขภาพถ่าย (photomontage)
นอกเหนือไปจากนั้น การพัฒนาด้านการพิมพ์ก็ได้เปิดช่องทาง-
ใหม่และลูกเล่นใหม่ๆให้กับนักออกแบบ ในยุคนี้อย่างมากมาย แต่สิ่งที่ทำให้
กราฟฟิกดีไซน์แบบใหม่ที่มีในสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงยุค 50
กลายเป็นสไตล์โดดเด่นของโลกในช่วงยุค 70 มีความเหมือนเกี่ยว
เนื่องกับรูปแบบพื้นฐาน Typography เป็นอย่างมากรูปแบบสไตล์นี้มีจุดที่ชัดเจน
Internationnal Style ที่เข้ามาใน America
ในช่วงปี 1950-1960ได้มีการมองถึงด้านเกี่ยวกับชุมชนเพื่อที่จะได้มี
การรวมตัวกันเป็นหน่วยงานและถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นจุด peak ที่สุดใน
ปี 1970 ก็คือเป็นจุดนึงที่บ่งบอกถึงรากฐานด้านแนวความคิดสมัยใหม่
ในยุคนั้น ทำให้เกิด “Intermationnal Typographic Style”
ทำไมงานแนว Swiss ถึงต้องมีรูปแบบ Guid , Asymmetric เป็นหลัก
swiss Style เกิดขึ้นที่เมือง “ซูริก” ซึ่งมีนักออกแบบ
ที่โดดเด่นอย่าง ***Josef Muller Brockmann***
เกิดวันที่ 9 พ.ค. 1914 และได้
เสียชีวิตลงเมื่อ 30 ส.ค. 1996
เป็นทั้งครูและนักออกแบบ เขาเรียนเกี่ยวกับทางด้าน Architecture Design และ History of Arts ที่มหาวิทยาลัย Kunstgewerbeschure
Muller น่าจะได้รับอิทธิพลในการใช้การออกแบบที่เรียนมา
จากโรงเรียนที่เกี่ยวกับ ทางด้าน Architecture Design เขาจึงประยุกต์ เข้ากับงานที่มีการใช้ Asymmetric

คนที่ชักจูงเข้ามาคือ Bunnell เขาได้นำการออกแบบเข้ามา
เช่น Ulm Journals จากสื่อสิ่งพิมพ์ใน German

ทำไมงานแนว Swiss ถึงต้องมีรูปแบบ Guid , Asymmetric เป็นหลัก
swiss Style เกิดขึ้นที่เมือง “ซูริก” ซึ่งมีนักออกแบบ
ที่โดดเด่นอย่าง ***Josef Muller Brockmann***
เกิดวันที่ 9 พ.ค. 1914 และได้
เสียชีวิตลงเมื่อ 30 ส.ค. 1996
เป็นทั้งครูและนักออกแบบ เขาเรียนเกี่ยวกับทางด้าน Architecture Design และ History of Arts ที่มหาวิทยาลัย Kunstgewerbeschure
Muller น่าจะได้รับอิทธิพลในการใช้การออกแบบที่เรียนมา
จากโรงเรียนที่เกี่ยวกับ ทางด้าน Architecture Design เขาจึงประยุกต์ เข้ากับงานที่มีการใช้ Asymmetric



ผลงานของ Josef Muller Brockmann



นักออกแบบที่โดดเด่นในยุค International Typographic Style อีกคนหนึ่งก็คือ
Paul Rand -เค้าเรียนทางด้าน Art & Design จาก Pratt Institute
Paul Rand เริ่มทำงาน ตอนอายุ 23 ปี ในตำแหน่ง
Art Director ของ Esquire & Apparel Art magazine ในขณะนั้น Graphic communication
จะมีบทบาทเด่นมากในด้าน การวาดภาพประกอบ , พาดหัว , ตัวอักษรเรียบๆ การใช้สีในงานของ
Paul Rand ได้รับอิทธิพลจาก งานเขียนต่างๆ เช่น งานของ Picasso
พอล แรนด์ เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มใช้สไตล์การออกแบบที่เรียกว่า Swiss Style คือสไตล์ของภาพสะอาดตา คำนึงถึงทักษะการอ่าน และเหตุผล เป็นรูปแบบที่แสดงความเด่นชัดของการจัดองค์ประกอบ
แบบไม่สมมาตร(Asymmetric lay-outs) มีการใช้ตาราง (Grid) และ Sanserif (ส่วนที่ยื่นออกมาจากตัวอักษร) เป็นสไตล์ที่ให้ความสำคั Typography (การพิมพ์) รวมไปถึงการผสมผสานการออกแบบโดย
การใช้รูปถ่าย (Photography) ภาพประกอบ(Illustrate) และรูปวาด (Drawing)


ผลงานของ Paul Rand

ตู้


Erik Speikermann
Erik Speikermann เป็นนักออกแบบ Typographer และ Designer ชาว Germany และเขายังเป็นหนึ่งในนักออกแบบการเรียงตัวอักษรที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนนึงในโลก ระหว่างปี 1972 และ 1979 เขาทำงาน Graphic Designโดยเป็น Freelance ใน London หลังจากนั้นเขาก็กลับมายังBerlin และตั้งบริษัท MetaDesign ในปี 1983 ปี 1989 เขาและภรรยาได้เริ่มทำ Fontshop ซึ่ง MetaDesignได้รับการยอมรับจากสมาคมการออกแบบในเร่ื่องเกี่ยวกับวิธีการทางปรัชญาที่บริษัทได้นำมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ และในขณะนี้บริษัทได้เป็นที่ปรึกษาทางการออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในเบอร์ลิน ซานฟรานซิสโก และลอนดอน และลูกค้าจากนานาชาติ ผลงานจากบริษัท MetaDesign มีอยู่หลากหลาย เช่น ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการคมนาคมในเบอร์ลิน ตัวอักษรและสัญลักษณ์ที่ใช้ในงาน Glasgow ปี1999 Audi, Volkswagen เป็นนักออกแบบ Typographer และ Designer ชาว Germany




แบงค์


Experimental Jetset

กลุ่มนักออกเเบบมีชื่อว่า Experimental Jetset อยู่ที่Netherland กรุงAmsterdam ก่อตั้งในปี 1997 โดยมีนักออกแบบ3คน ได้เเก่ Erwin Brinkers, Marieke Stolk, Danny van Dungen Experimental Jetset เป็นกลุ่มนักออกเเบบในยุโรปซึ่งมีความสามารถมากมายในการออกเเบบกราฟฟิกที่มีผลงานเกี่ยวกับ วัฒนธรรม,ดนตรี, แฟชั่น Experimental Jetset บอกว่าการออกแบบกราฟฟิกของ Experimental Jetset เป็นการออกเเบบเป็นระบบเเละมีลักษณะเฉพาะในการออกเเบบรวมถึงรูปเเบบที่ทันสมัย การทำงาน ส่วนใหญ่ Experimental Jetset จะใช้Font Helvetica เป็นส่วนใหญ่ Experimental Jetset
มั่นใจในรูปเเบบ Font Helvetica เพราะHelveticaมีรายละเอียดน้อยเเละมีความสวยงาม Experimental Jetset ยังใช้เเนวคิด Modernrsm

ที

Michael C.Place


Herbert Bayer : The Complete Work
(By Arthur Allen Cohen, 1988)

Herbert BayerBirthday Greetings to Xonti, 1930

แชมป์

Paula Scher ได้ศึกษาที่ Tyler of Art ใน Philadelphia และเริ่มต้นอาชีพ
กราฟิคดีไซน์ เป็น art director ที่ Atlantic และ CBS Recordsทั้งสองที่ในปี 1970s.
ในปี 1984 เธอได้เข้าร่วมก่อตั้ง Koppel & Scher และ
ในปี 1991 เธอได้ช่วยร่วมงานกับ Pentagram
เธอได้พัฒนาระบบ identity และ branding ข้อความโฆษณา,กราฟิคสิ่งแวดล้อม,
บรรจุภัณฑ์,และการออกแบบสิ่งพิมพ์ เพื่อการตอบสนองที่กว้างขวางและแพร่หลายของลูกค้า
เธอได้สร้างสรรค์ภาพพจน์ที่ร่วมสมัยของอารมณ์ผสมความดึงดูดใจ
30 ปี ของการทำงานภาพพจน์ที่เห็นได้กลายเป็นข้อพิสูจน์ชีวิตที่บ่มเพาะในเมือง New York
เธอเป็นสมาชิกของ Art Directors Club Hall of Fame และที่ผ่านมาได้รับรางวัล Chrysler Award for Innovation in Design

เธอได้ทำงานกับคณะผู้บริหารระดับชาติของ American Institute of Graphic Arts
และในปี 2001 เธอได้รับรางวัลผู้เชี่ยวชาญสูงสุด เหรียญ AIGA ด้วยการเห็นพ้องของที่ประชุม เธอประสบความสำเร็จด้วยความแตกต่างและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เธอคว้าเกียรตินิยม จาก Corcoran College of Art and Design และ Maryland Institute College of Art และเป็นสมาชิก Alliance Graphigue Internationale
เธอได้ทำงานเป็น directors ของ The Public Theater และในปี 2006 เธอได้ฉายา Art Commission แห่ง New York
งานของเธอได้จัดแสดงทั่วโลก ทั้ง นิวยอร์ก,วอชิงตัน ดีซี,สวิตเซอร์แลนด์,และฝรั่งเศส
เธอเป็นอาจารย์มากกว่า 20 ปี ที่ School of Visual Arts ดำรงตำแหน่งยาวนานที่ Cooper Union,Yale University และ Tyler School of Art
ในปี 2002 Princeton Architectural Press ได้ตีพิมพ์หนังสือ Make it Bigger เป็นเรื่องราวของเธอในอาชีพการงาน



ต่าย

Neville Brody






เป็นศิษย์เก่าของ London college of communication และ ศึกษาที่ Hammersmith College of ArtNeville Brody เกิดวันที่ 23 เมษยา 1957 ที่กรุงลอนดอน เค้าเป็น Graphic Designer , ช่างเรียงพิมพ์ และ Art Director เขายังเป็นคนส่งเสริมโปรเจค “FUSE” ที่เอาหนังสือ graphics design กับ typefaces design มารวมกันอีกด้วย ซึ่งในแต่ละเล่มประกอบไปด้วยการตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวกับ เทคนิคการเรียงพิมพ์ การทำแบรน และโปสเตอร์ Brody เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง Font Work หรือตอนนี้เรียกว่า Font Shop ที่กรุงลอนดอนและยังได้ออกแบบ typefaces ที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย ในปี1988 Thames & Hudson ได้ทำหนังสือเกี่ยวกับงานของเขา และติดอันดับหนังสือ กราฟฟิกดีไซน์ที่ขายดีที่สุดในโลก ยอดขายมากกว่า 120,000 ดอลลาร์ และงานนิทรรศการของเค้าที่ Victoria and Albert Museum มีผู้ชมมากกว่า 40,000คนBrody มีชื่อเสียงขี้นมาจากการที่เขาได้เป็น Art Director ของนิตยสาร The Faceต่อมาเขามีสตูดิโอเป็นของตัวเองอยู่ใน London, San Francisco, Paris, Berlin และ New York บริษัทของเขาเป็นที่รู้จักดีในการสร้างสรรภาษาภาพใหม่ๆ ต่อมา งานของเขาที่อยู่บนหนังสือก็เริ่มเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนต์โดยมีค่ายหนังต่างๆ มาเป็นผู้จ้าง เช่น mission impossible เป็นต้นและยังได้ออกแบบฟ้อนใหม่หนังสือพิมพ์ TheTimes อีกด้วยNeville Brody ทำงานอีกครั้งในฐานะกราฟฟิคดีไซน์เนอร์ และเป็น partner ของ Fwa Richards ที่ Research Studios ณ กรุงลอนดอนในปี 1994

โก้

1 ความคิดเห็น:

Pompulous กล่าวว่า...

จ๊าบเรย